6 ธุรกิจที่เริ่มต้นได้ด้วยเงินหลักพัน
เมื่อพูดถึงการเริ่มต้นธุรกิจแล้วนั้น
ผู้คนทั่วไปมักคิดว่าจะต้องเป็นการลงทุนที่มีค่าใช้จ่ายที่สูง
จะต้องไปกู้ยืมเงินมาเริ่มต้นลงทุนในช่วงแรกอยู่เสมอ
แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายธุรกิจที่เริ่มต้นได้ด้วยเงินเพียงไม่กี่บาทเท่านั้น
เนื่องจากธุรกิจที่เรากำลังจะพูดถึงต่อไปนี้เป็นที่ธุรกิจที่สามารถเริ่มต้นได้โดยไม่ต้องลงทุนเงินมาก
ไม่ต้องใช้พนักงาน ไม่ต้องมีออฟฟิศ และอาจไม่ต้องใช้แม้กระทั่งแผนธุรกิจในระยะยาว
หลายคนอาจจะมองว่าธุรกิจเหล่านี้เป็นเพียงแค่ธุรกิจเล็กๆ ทั้งที่จริงๆ
แล้วตัวอย่างธุรกิจเหล่านี้อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ
ที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาและขยับขยายเป็นธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นในอนาคตก็ได้
เรามาดูกันเลยดีกว่าว่าทั้ง 6 ธุรกิจที่เราสามารถเริ่มต้นได้ด้วยเงินเพียงหลักพันนั้นจะมีอะไรกันบ้าง
1.Freelance
หาทักษะที่ตัวเองมี
ฝึกฝนให้ดีแล้วเริ่มรับจ้าง Freelance ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเริ่มต้นธุรกิจโดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลยนอกจากการเรียนรู้ในด้านที่ตัวเองถนัดให้ดี
จริงอยู่ที่ลักษณะงาน Freelance อาจมีรูปแบบคล้ายงานประจำบ้าง
แต่อิสระในการรับงานจากหลายเจ้า และกำหนดเวลาทำงานด้วยตัวเองก็ทำให้ Freelance
นั้นมีลักษณะคล้ายกับผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของธุรกิจมากขึ้นเพราะต้องทั้งวางแผนการรับงานและกำหนดการต่างๆ
ให้มีประสิทธิภาพ ทุกวันนี้มีหลายองค์กรที่นิยมใช้บริการของ Freelance กันมากขึ้น ทั้งนักเขียน นักพัฒนาเว็บไซต์ นักพัฒนาแอพลิเคชั่น นักการตลาด
รวมไปถึงอีกหลายงานที่บริษัทคาดหวังให้จบเป็นโปรเจคๆ ไป การเลือกใช้ Freelance
ก็เป็นอีกทางที่ลดต้นทุนแทนการจ้างพนักงานขององค์กรเหล่านี้ได้มาก
2.ขายของบน Ebay
ใครๆ
ก็เริ่มต้นขายของในตลาดที่ใหญ่ระดับโลกอย่าง Ebay
ได้ ด้วยการแบ่งหมวดหมู่อย่างชัดเจน และการเข้าถึงของลูกค้าจากทั่วโลก
ทำให้ Ebay เป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าสนใจที่จะหาลูกค้าตรงกับความต้องการกับสิ่งที่เราจะขายได้ง่ายกว่าการหาพื้นที่ขายสินค้าแบบ
Offline ลองหาไอเดียดูว่าอะไรที่เป็นที่นิยมและเราสามารถหามาขายได้ง่ายๆ
หรือถ้าไม่เช่นนั้นอาจจะรับเป็นนายหน้าขายของใน Ebay ให้กับคนอื่นๆ
ที่มีของอยากจะขาย
ซึ่งเพื่อไปการลดความเสี่ยงผู้ประกอบการสายนี้ส่วนมากก็มักที่จะตกลงกันว่าจะให้เงินกับผู้ฝากขายก็ตอนที่สินค้าเหล่านั้นขายได้แล้ว
จากนั้นค่อยหัก 20% จากราคาขายของสินค้าชิ้นนั้น
เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการรับซื้อสินค้ามาแล้วแต่ขายไม่ออก
3.โฆษณาบนเว็บ
การใช้เว็บหาเงินนั้นไม่ได้หมายความว่าเว็บเหล่านั้นจะต้องเป็นเว็บสำหรับขายของเสมอไป
เพราะมีเว็บ Content อีกมากมายที่อยู่ได้ด้วยค่าโฆษณาจากแบรนด์อื่นๆ
ซึ่งข้อดีของการเป็นเว็บคอนเทนท์นั้นก็คือความประหยัดในเรื่องของต้นทุนที่ไม่ต้องมีการสต็อกสินค้าเอาไว้ขายเหมือนอย่างเว็บที่ทำการค้าต่างๆ
แต่ความยากก็คือการหาไอเดียของเว็บคอนเทนท์ว่าควรออกมาเป็นอย่างไร
และออกมาในรูปแบบไหนจึงจะตรงกับความต้องการของคนทั่วไป
ซึ่งนอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความถนัดในคอนเทนท์ด้านนั้นๆ
ของตัวเราเองด้วยว่าสามารถสร้างคอนเทนท์ได้เจาะลึกและน่าติดตามได้แค่ไหน
ซึ่งเมื่อทำได้สำเร็จแล้วทีนี้ก็พยายามรักษาปริมาณของผู้เข้าชมเอาไว้ในระดับที่พอใจ
จากนั้นค่อยลองติดต่อหาแบรนด์ที่สนใจจะลงโฆษณามาตกลงเรื่องราคากัน
หรืออีกแนวทางนึงคือลองศึกษาเกี่ยวกับบริการของ Google Adsense ที่จะเลือกโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับ content ของเรามาลงบนพื้นที่หน้าเว็บให้โดยอัตโนมัติ
4.ขายตรง
จริงๆ แล้วการขายตรงหรือ Direct Sales เป็นกลยุทธ์ทางการขายอีกอย่างหนึ่งที่ธุรกิจดังๆ
มักใช้กัน
แต่น่าเสียดายที่ภาพลักษณ์ของการขายตรงในประเทศเรานั้นมักถูกเหมารวมว่าเป็นการหลอกลวงขายฝัน
และมีจุดประสงค์หลักในการหาค่าสมาชิกใหม่ๆ เป็นลูกโซ่มาเรื่อยๆ
มากกว่าการเน้นไปขายที่ตัวสินค้าและผลิตภัณฑ์
หรือแม้กระทั่งสินร้านค้าปลีกก็นับได้ว่าเป็นการขายตรงเช่นกัน
แต่ทั้งนี้ก็ยังมีอีกหลายแบรนด์ที่มีลักษณะเป็นธุรกิจขายตรงที่ยังมีภาพลักษณ์ที่ดีอยู่อย่างเช่น
เครื่องสำอางมิสทีน เป็นต้น ซึ่งหลักการเลือกธุรกิจขายตรงง่ายๆ
ก็ควรเลือกจากธุรกิจที่ดูทันสมัย มีการปรับเปลี่ยนและออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่บ่อยๆ
และที่สำคัญต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี มีความน่าเชื่อถือด้วย
การเป็นติวเตอร์หรือครูพิเศษนั้นถือเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน
ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะไม่ต้องลงทุนอะไรมากนอกจากความรู้ที่มีและการเตรียมตัวสอนที่ดี
ซึ่งทั้งนี้ธุรกิจติวเตอร์นั้นควรเลือกวิชาหรือหลักสูตรการสอนต่างๆ
ที่เป็นที่นิยมและที่ตัวเองมีความถนัดเพื่อให้การเรียนการสอนนั้นมีคุณภาพและตรงตามความต้องการของผู้เรียนมากขึ้นจนเกิดกระแสปากต่อปากไปยังผู้ที่สนใจเรียนพิเศษคนอื่นๆ
ได้อีกด้วย
ซึ่งสำหรับธุรกิจติวเตอร์นั้นในช่วงแรกอาจเริ่มต้นจากเพียงตัวเราเองหนึ่งคนจากนั้นอาจค่อยมีการขยับขยายรวมกลุ่มกันมากขึ้นติวเตอร์ที่ถนัดในด้านอื่นๆ
เพื่อสร้างแบรนด์ที่ครบตามหลักสูตรวิชาที่มีคนใจเรียน
และที่สำคัญธุรกิจติวเตอร์นี้มักจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากกับประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ค่อนข้างแย่
แต่มีการแข่งขันที่สูงจนทำให้ผู้ปกครองส่วนมากจึงยอมจ่ายค่าเรียนในอัตราที่สูงเพื่อให้ลูกๆ
ตัวเองนั้นแข่งขันกับคนอื่นๆ ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น