วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

20 สิ่งที่คุณไม่ควรเขียนใน เรซูเม่ (Resume)

20 สิ่งที่คุณไม่ควรเขียนใน เรซูเม่ (Resume)
20 Things You Should Leave Off Your Resume
     


















































































1. Secondary skills.
ความสามารถอื่นๆของคุณ
ถ้าคุณมีความสามารถอื่นๆที่คุณมั่นใจว่าจะพัฒนาต่อไปในงานใหม่ที่คุณกำลงสมัคร ให้คุณใส่เอาไว้ในอันดับแรกๆของเรซูเม่ของคุณ แต่ระวัง! เอาความสามารถที่คุณคิดว่าคุณจะไม่ทำหรือทำได้ไม่ดีแน่ๆในงานที่คุณกำลังสมัครออกซะ ไม่อย่างนั้นคุณอาจจะลำบากในภายหลังที่จะต้องทำมันในขณะที่หัวหน้างานของคุณคาดหวังว่าคุณควรต้องทำมันได้ดี

2.
High school jobs.
งานรับจ๊อบระหว่างที่คุณอยู่ชั้นมัธยม
อย่าใส่เรื่องเกี่ยวกับงานเล็กๆน้อยๆที่คุณรับทำในระหว่างที่คุณเรียนอยู่ชั้นมัธยม ยกเว้นว่าคุณเพิ่งจะเรียนจบชั้นมัธยม

3.
The unprofessional (silly) email account.
ชื่ออีเมล์ที่ไม่มีความเป็นมืออาชีพ (หรือ อีเมล์ที่ดูเด็กๆ ไม่มีความเป็นผู้ใหญ่)
ถ้าคุณยังคงใช้ชื่ออีเมล์เก่าๆ เดิมๆ ตลอดเวลา เช่น
missu@hotmail.com เลิกใช้มันซะ !!! และสร้างอันใหม่ที่ดูเป็นมืออาชีพมากกว่านี้


4.
Misspelled words and poor grammar.
สะกดคำผิดๆและใช้ไวยกรณ์ที่ไม่ถูกต้อง
การที่คุณสะกดคำผิดๆหรือใช้ไวยกรณ์ไม่ถูกต้องเป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้คุณไม่ได้รับแม้แต่โอกาสที่จะสัมภาษณ์งาน ตรวจคำผิดหลายๆครั้งด้วยตัวคุณเอง และควรให้เพื่อนหรือคนอื่นตรวจให้คุณอีกครั้งก่อนที่จะส่งเรซูเม่

5.
Superfluous things.
ใส่ข้อมูลมากมายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงาน
อย่าใส่ข้อมูลมากมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่คุณจะสมัคร โดยเฉพาะเรื่องงานอดิเรก ลงในเรซูเม่ของคุณ แต่คุณสามารถเก็บสิ่งเหล่านี้ไปเล่าในระหว่างที่คุณสัมภาษณ์งาน สิ่งที่คุณสามารถใส่ลงในเรซูเม่ของคุณได้คือเรื่องที่คุณทำงานเพื่อสังคมหรือเรื่องเกี่ยวกับงานเดิมของคุณ

6.
Old-school resume formatting.
รูปแบบเรซูเม่แบบเดิมๆ
เปลี่ยนรูปแบบเรซูเม่ของคุณเสียบ้าง หารูปแบบใหม่ๆที่ดูสะดุดตา เพื่อให้นายจ้างรู้สึกประทับใจแล้วรู้สึกว่าคุณน่าสนใจ แต่ไม่ใช่เรซูเม่แบบที่เน้นสีสรร และดูไม่เป็นมืออาชีพ ใช้ฟอนต์ (
Font) เดียวกันทั้งเรซูเม่/เอกสารเพื่อให้ดูไปในทำนองเดียวกัน

7.
The "Objective" section.
เป้าหมายในการทำงาน
แทนที่จะพรรณาว่าอะไรที่คุณค้นหาคุณต้องการอะไรในการที่จะเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ อย่าลืมที่จะใส่
เป้าหมายในการทำงานของคุณ บอกผู้สัมภาษณ์งานว่าคุณมีความสามารถอะไรบ้างและความสามารถนั้นของคุณมีประโยชน์อะไรบ้างกับองค์กร

8.
Personal information.
เรื่องส่วนตัว
คุณไม่จำเป็นที่จะต้องบอกเรื่องความเห็นเกี่ยวกับเชื่อชาติ และ ศาสนา (ยกเว้นว่างานนั้นๆจะเกี่ยวข้องกับ 2 เรื่องนี้) เหตุผลที่คุณเปลี่ยนงาน ที่อยู่และ ชื่อของนายจ้างเดิม


9. A photo.
รูปถ่าย 
รูปถ่ายเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและเป็นหนึ่งสิ่งที่จะสร้างความประทับใจแรกให้กับผู้สัมภาษณ์ของคุณ และเป็นสิ่งที่จะทำให้คุณได้รับโอกาสในการเรียกเข้าสัมภาษณงาน ดังนั้น ใส่รูปที่เป็นมืออาชีพ ไม่ใส่รูปกลุ่ม และไม่ควรจะใส่รูปที่ดูเหมือนถ่ายเล่นอยู่กับเพื่อน เว้นเต่คุณจะเป็นดารา

10.
Gaps in work experience (if you can).
ช่วงเวลาของประสบการณ์ทำงาน
คุณอาจจะมีช่วงเวลาที่ว่างงานสัก 2-3 เดือนในระหว่างที่คุณลาออกจากงานเดิมและหางานใหม่ พยายามเติมช่องว่างหรือช่วงเวลาว่างๆนั้นด้วยงานเพื่อสังคมหรือประสบการณ์ในการไปช่วยธุรกิจเล็กๆน้อยของเพื่อนเก่าคุณ (ซึ่งคุณสามารถใส่ว่าคุณไปช่วยในฐานะที่ปรึกษา)

11.
Your home number (if you still have one).
เบอร์โทรศัพท์บ้าน (ถ้ามี)
อย่าใส่เบอร์โทรศัพท์บ้านของคุณ แต่ควรจะใส่เบอร์มือถือของคุณลงในเรซูเม่ ผู้สัมภาษณ์งานชอบที่จะติดต่อคุณได้ตลอดเวลา ไม่ใช่เฉพาะเวลาที่คุณอยู่บ้านเท่านั้น

12.
References.
บุคคลอ้างอิง
เราแนะนำให้คุณใส่ชื่อบุคคลอ้างอิงในเรซูเม่ของคุณ ถ้าคุณไม่ใส่ คุณก็จะถูกถามในระหว่างการสัมภาษณ์งานอยู่ดี พยายามใส่รายชื่อบุคคลอ้างอิงให้มากที่สุดเท่าที่คุณสามารถทำได้ หรืออย่างน้อย 2 คน

13.
The second page.
หน้าที่ 2 ของเรซูเม่
พยายามใส่สิ่งที่สำคัญๆ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับตัวคุณและประสบการณ์ทำงานในหน้าแรกของเรซูเม่ของคุณเท่านั้น เพราะผู้สัมภาษณ์งานส่วนมากแทบจะไม่เปิดหน้าที่2 ของเรซูเม่ของคุณ

14.
Beginning and end months.
วันเริ่มต้นและสิ้นสุดของเดือน
ใส่เฉพาะปีที่เริ่มต้นและปีที่สิ้นสุดการทำงานในประสบการณ์ทำงานของคุณ อย่าใส่เดือนที่เริ่มต้นและสิ้นสุด ยกเว้นว่าตำแหน่งงานเดิมนั้นจะเริ่มต้นและสิ้นสุดภายในปีเดียวกัน

15.
The word "Resume."
หัวข้อ เรซูเม่” อย่า!! อย่าตั้งหัวข้อของเรซูเม่คุณว่า เรซูเม่

16.
Paragraphed job descriptions.
ย่อหน้าของแบบบรรยายลักษณะงาน
ใช้
Bullet Point ในการอธิบายลักษณะงานของคุณ แต่คุณควรระวังที่จะไม่ใช้มันมากจนเกินไป เพราะมันทำให้ผู้อ่านตาลาย ผู้สัมภาษณ์งานส่วนมากจะเลิกอ่านเรซูเม่ที่มีย่อหน้าและเนื้อหามากจนเกินไป และมักจะเลือกอ่านเรซูเม่ที่จัดวางเป็น Bulletที่อ่านง่ายและสะอาดตา

17.
Salary figures--past and future.
จำนวนเงินเดือนทั้งปัจจุบันและที่คาดหวังไว้ในงานที่สมัคร
อย่าใส่เงินเดือนปัจจุบันเกินความเป็นจริงที่คุณได้ อย่าลืม! ว่าความลับไม่มีในโลกและผู้สัมภาษณ์งาน ปัจจุบันมักจะโทรถามนายจ้างเก่าหรือบุคคลอ้างอิงของคุณก่อนที่จะเรียกคุณเข้าสัมภาษณ์งาน ทำการบ้านและเช็คว่าประสบการณ์ของคุณกับเงินเดือนควรจะอยู่ที่เท่าไหร่ ลองเทียบกับบริษัทแบบเดียวกัน และตำแหน่งเดียวกันดู เพราะคุณไม่ควรที่จะเรียกร้องเงินเดือนมากกว่าความสามารถของคุณนัก เพราะมันจะทำให้คุณดูเป็นคนที่เรียกร้องจากองค์กรมากกว่าที่จะทำอะไรเพื่อองค์กร

18.
Generic job titles.
ชื่อตำแหน่งงาน
ใส่ชื่อตำแหน่งงานเดิมของคุณตามความความเป็นจริงและเหมาะสม ซึ่งควรจะเป็นตำแหน่งงานแบบสากล ตำแหน่งงานเดิมที่เป็นสากลและเรียงเป็นขั้นนี้จะช่วยให้ผู้สัมภาษณ์หรือนายจ้างใหม่มีไอเดียมากขึ้นว่าคุณเคยทำอะไรมาและคุณควรอยู่ตำแหน่งใดต่อไป

19.
Duties and responsibilities.
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ถ้าคุณอยากให้ผู้สัมภาษณ์หรือนายจ้างใหม่เห็นว่าคุณมีความสามารถมากกว่าผู้แข่งขันคนอื่นๆ เลิกใส่หน้าที่และความรับผิดชอบในตำแหน่งงานเดิมของคุณลงในเรซูเม่ แต่คุณควรจะเริ่มใส่ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับสิ่งที่คุณเคยได้ผ่านความท้าทายมาและคุณสามารถเอาชนะหรือทำมันสำเร็จได้อย่างไร หรืออธิบายว่าองค์กรณ์จะได้ประโยชน์อะไรจากความกระตือรือร้นและความคิดสร้างสรรนี้ของคุณ อะไรที่ทำให้คุณตัดสินใจย้ายงานไปสู่องค์กรณ์ที่ดีขึ้นกว่าองค์การที่คุณเริ่มทำงาน

20.
Age identifiers.
การระบุวันที่
ถ้าคุณคิดว่าอายุของคุณอาจจะมากเกินกว่าตำแหน่งที่คุณสมัคร อย่าใส่ตำแหน่งงานและระยะเวลาของงานที่คุณเคยทำเมื่อนานมาแล้ว อย่าระบุวันที่ที่คุณเรียนจบ เพราะมันจะทำให้ผู้สัมภาษณ์งานเลือกที่จะข้ามเรซูเม่ของคุณไป สิ่งที่คุณจะทำได้ก็คือ ทำให้ผู้สัมภาษณ์งานเห็นว่าคุณน่าสนใจและเหมาะสมกับตำแหน่งนั้นแค่ไหนในวันที่คุณได้มีโอกาสเข้าสัมภาษณ์งาน แสดงให้ผู้สัมภาษณ์งานเห็นว่าอายุของคุณเหมาะสมกับความสามารถและตำแหน่งงานนั้นที่สุด

ข้อมูลจาก AEC Job Listing 

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

จดบันทึกรายรับ-รายจ่าย ช่วยคุณได้มากกว่าที่คิด

จดบันทึกรายรับ-รายจ่าย ช่วยคุณได้มากกว่าที่คิด




1. รู้พฤติกรรมการใช้จ่ายรายเดือน

          หากเราจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นประจำ สม่ำเสมอ จะทำให้เรารู้พฤติกรรมการใช้จ่ายรายเดือนของเรา ว่าในแต่ละเดือนเราใช้เงินไปเท่าไร ใช้จ่ายกับเรื่องอะไรบ้าง เพียงพอกับรายได้ที่เราได้รับหรือไม่ เช่น มีรายรับเข้ามาเดือนละ 5,000 บาท ก็จดบันทึกว่าเราจ่ายเงินไปกับค่าเดินทางเท่าไร ทานข้าว ซื้อขนมไปเท่าไร ซื้อของไปเท่าไร เหลือเงินเท่าไร เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนหรือไม่

          หากมีเงินเหลือก็เก็บออมไว้ เผื่ออยากได้อะไร หรืออยากทำอะไร จะได้มีเงินส่วนนี้ไว้ใช้ในอนาคต แต่หากพบว่ารายรับไม่เพียงพอกับรายจ่าย ก็สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเอง และวางแผนการใช้เงินในเดือนถัดไปให้เพียงพอกับรายรับที่เข้ามา   

 2. ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น


          การจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย นอกจากจะทำให้รู้พฤติกรรมการใช้จ่ายรายเดือนของเราเองแล้ว ยังสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หรือเรียกว่าเป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยของเราได้อีกด้วย เนื่องจากบางครั้งเรามักจะใช้จ่ายเงินกับสิ่งที่เราอยากได้ อยากมี เพื่อซื้อความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับตัวเอง เช่น ชอบไปทานข้าวนอกบ้าน ชอบไปเที่ยว ไปสังสรรค์กับเพื่อน ๆ โดยลืมคิดไปว่าเป็นรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและคิดเป็นจำนวนเงินที่มากพอสมควร

          หากเราจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย ก็จะทำให้เรามองเห็นค่าใช้จ่ายต่างๆ เหล่านี้ และสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลงได้เพื่อให้มีเงินเหลือเก็บมากขึ้น 

 3. จัดสรรเงินออมและเงินลงทุน

          ประโยชน์ที่คาดไม่ถึงอีกอย่างหนึ่งของการจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย คือ ช่วยให้เราสามารถจัดสรรเงินออมและเงินลงทุนได้อย่างลงตัว เพราะหากเราไม่ได้บริหารจัดการเงิน แต่อยากลงทุน และนำเงินไปลงทุนในรูปแบบที่เราสนใจเลย เช่น ซื้อกองทุน เล่นหุ้น ก็อาจทำให้เกิดปัญหาการเงินตามมาได้ เนื่องจากเงินที่มีไม่เพียงพอกับการใช้จ่าย และผลตอบแทนจากการลงทุนก็ไม่แน่นอน ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเราจะได้รับผลตอบแทนหรือไม่ เป็นจำนวนเงินมากน้อยแค่ไหน

          การจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย จึงทำให้เรารู้ตัวเลขเงินออมที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละเดือน และสามารถจัดสรรได้ว่า เงินส่วนไหนจะเก็บไว้เป็นเงินออม และเงินส่วนไหนที่จะนำไปลงทุน เป็นจำนวนเท่าไร เพื่อให้ใช้เงินได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

          การจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย มีประโยชน์มากมาย หากใครสนใจ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร หรือกลัวว่าจะยุ่งยาก ขอแนะนำโปรแกรม K-Expert Saving Memo ซึ่งเป็นโปรแกรมบันทึกเงินออมที่จะช่วยให้เราจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายได้ง่าย ๆ โดยสามารถเข้าไปดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีได้ที่www.askkbank.com/k-expert ซึ่งมีให้เลือกใช้ทั้งแบบออนไลน์ผ่านคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งแบบออฟไลน์ โดยเป็นโปรแกรม Excel และเริ่มต้นจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายกันได้เลยค่ะ

10 นิสัยดีๆ ที่เปลี่ยนคุณให้กลายเป็นคนฉลาด

10 นิสัยดีๆ ที่เปลี่ยนคุณให้กลายเป็นคนฉลาด


1. คิด 10 ไอเดียใหม่ๆในทุกๆวัน
การเริ่มต้นคิดอะไรใหม่ๆก็เหมือนเป็นการออกกำลังกายของกล้ามเนื้อสมองคุณ ไม่จำเป็นต้องเป็นความคิดที่ดีเสมอไป ขอแค่ลองคิดก็เพียงพอแล้ว อนาคตใครจะรู้ว่าเงินร้อนล้านอาจมาจากความคิดง่ายๆของคุณ
2. อ่านหนังสือพิมพ์
คุณจะได้รับข่าวสารที่แปลกใหม่เสมอ และเวลาเข้าสังคมคุณจะได้คุยกับเพื่อนๆแบบรู้เรื่อง
3.สร้างความเห็นที่แตกต่างกัน
พยายามแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป คิดนอกกรอบ มันจะช่วยให้คุณเปิดรับสิ่งใหม่ๆและต้องยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย
4.อ่านหนังสือหนึ่งบทในชีวิตประจำวัน
จะเป็นนิยายหรือไม่ใช่นิยายก็ไม่สำคัญ เพราะการอ่านเป็นหัวใจสำหรับการออกกำลังกายของสมอง และพอกพูนความรู้ไปเรื่อยๆ อย่าบอกนะว่าไม่มีเวลาอ่าน ควรให้เวลากับมันบ้าง
5.หาเรื่องที่สนใจและศึกษาอย่างจริงจัง
ค้นหาตัวเองให้เจอว่าชอบอะไรสนใจเรื่องไหนและพยายามค้นคว้าอย่างจริงจัง
6.หาบุคคลที่เป็นแรงบัลดาลใจ
จะเป็นใครก็ได้ขอแค่มีแนวคิดที่เจ๋งๆ มีวิถีชีวิตที่น่าเป็นแบบอย่าง หากคิดไม่ออกบอกเฟซบุ๊กก็ได้
7.แบ่งปันความรู้สู่ผู้อื่น
การสอนผู้อื่นเสมือนเป็นการทบทวนความรู้และเสริมสร้างความรู้ของคุณ อีกทั้งมันยังทำให้คุณดูฉลาดขึ้นอีกด้วย
8.บันทึกสิ่งที่คุณเรียนรู้
จะจดใส่กระดาษหรือเขียนเป็นบล็อคลงเนตก็ได้ นอกจากจะเป็นการจดบันทึกแล้วมันจะทำให้คุณเป็นคนมีความรับผิดชอบอีกด้วย
9. คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล
ถ้าเป็นไปได้จริงควรจะออกไปเที่ยวกับคนที่มีความรู้ความฉลาดกว่าคุณ เพราะคนเหล่านี้จะสอนสิ่งใหม่ ๆ เวลาที่คุณเห็นพวกเขาทุกคนพูดถึงความรู้ใหม่ๆมันจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คุณด้วย
10.เอาชนะความกลัว
อย่ามัวแต่กลัวที่จะทำ อย่าขัดวันประกันพรุ่ง จงเอาชนะความขี้เกียจ เพื่อความเร็จของคุณเอง

ข้อมูลจาก http://men.sanook.com/



วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

12 ลักษณะเจ้านายที่ดี

12 ลักษณะเจ้านายที่ดี


1. คิดบวก ในการทำงานต้องใช้สมาธิค่อนข้างสูงคงไม่มีใครต้องการคนที่มาคอยจ้องจับผิดและส่งแต่พลังงานแง่ลบมาให้
2. ความซื่อสัตย์ การทำตัวโปร่งใสและซื่อสัตย์กับพนักงานเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความเชื่อใจ
3. จัดสรรคนทำงาน จัดคนให้เหมาะกับงาน และให้อำนาจลูกน้องตัดสินใจเอง ลูกน้องทุกคนล้วนอยากแสดงฝีมือในการสร้างงาน 
4. การสื่อสารเป็นทักษะของผู้นำที่ดีที่สุด เจ้านายที่ดีย่อมรู้กาลเทศะว่าเมื่อไรควรพูด แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือรู้ว่าเมื่อไรไม่ควรพูด
5. รู้จักวิธีสร้างแรงบันดาลใจ ต้องรู้วิธีกระตุ้นคน เมื่อเกิดเรื่องใหญ่ ควรรู้ว่าควรจัดการกับมันอย่างไร และจะทำให้พนักงานจัดการกับมันอย่างไรด้วย
6. สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ  ทำให้ทุกคนร่วมกันเติมโตสู่เป้าหมายระยะยาวเดียวกัน 
7. ส่งเสริมสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตและการทำงาน  ให้โอกาสพนักงานสร้างความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว ให้พวกเขาอุ่นใจและรู้ว่าตนเองไม่ได้เป็นแค่ลูกจ้าง แต่เป็นคนสำคัญของบริษัทต่างหาก
8. ให้เครดิตพนักงาน รู้จักที่จะรู้คุณค่าของพนักงาน และอย่าลืมการให้คำชื่นชมย่อมเป็นกำลังใจสู่ผลลัพธ์ที่ดีและยั่งยืน
9. สนับสนุนให้มีการเติบโต  การพัฒนาสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายวิธีการ ต้องกระตุ้นให้พนักงานมั่นใจว่าตนสามารถเรียนรู้ได้จากความผิดพลาด มากกว่าที่จะกลัวผิดพลาด
10. ชื่นชมพนักงานของคุณ แสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณรู้สึกขอบคุณและรู้ถึงคุณค่าของพวกเขา แม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ความสามารถในการชื่นชมคนอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นทักษะขั้นสุดยอดของผู้นำ 
11. เป็นผู้ชี้แนวทาง ทักษะสำคัญของการเป็นเจ้านายที่ดีคือ การเป็นครูหรือโค้ช ต้องชี้นำพวกเขาไปในทิศทางที่ถูกต้อง โดยสอนเขาให้ทำงานได้ดีพอ ๆ กับตัวคุณเอง หรือถ้าเป็นไปได้ ก็ต้องดีให้ยิ่งกว่า
12. มีความยุติธรรมให้ถึงที่สุด เจ้านายที่ดีต้องตระหนักว่าทุกคนต้องการได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม ทุกคนมีโอกาสเสมอภาคกันในการแสดงฝีมือ/ผลงาน



Cr.officevibe    

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันได 3 ขั้นสู่อาชีพเสริม

บันได 3 ขั้นสู่อาชีพเสริม


ก้าวที่ 1
ค้นหาอาชีพเสริมที่ใช่จากสิ่งที่ชอบ โดยอาจจะเริ่มต้นจากสิ่งที่รัก ที่อาจจะเป็นงานอดิเรก ของสะสม เช่น บางคนรักการชอปปิ้ง หลงใหลการดื่มกาแฟ หรือจะเริ่มต้นจากความสามารถก็ได้ โดยต้องลองนึกดูว่ามีความสามารถหรือทักษะอะไรบ้าง เช่น เย็บปักถักร้อย ทำอาหาร ที่สามารถจะนำมาคิดและคัดสรร แต่งเติมจนเป็นอาชีพเสริมได้อย่างสบาย นอกจากนี้ ยังอาจเริ่มต้นอาชีพเสริมจากประสบการณ์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะทำให้อาชีพเสริมที่เลือกประสบความสำเร็จได้อย่างที่ใจคิด
ก้าวที่ 2
เลือกรูปแบบของอาชีพที่เหมาะสม กล่าวคือหลังจากที่รู้ว่าจะทำอะไรแล้ว ก็จะต้องตั้งคำถามว่า What และ How โดยคำว่า What ก็คือการเลือกรูปแบบธุรกิจ ระหว่างทำเพื่อขายซื้อมาขาย หรือธุรกิจบริการ ถ้าทำเพื่อขาย ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการผลิตของตนเอง ส่วนการซื้อมาขายก็ขึ้นอยู่กับการหาแหล่งซื้อที่มีราคาถูก ส่วนรูปแบบธุรกิจบริการหัวใจคือทักษะและความสามารถเป็นหลัก
สำหรับคำตอบของ How ก็คือ การเลือกช่องทางการขายไม่ว่าจะเป็นการขายด้วยตนเอง ขายออนไลน์ หรือขายแบบมีหน้าร้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยของแต่ละคน การขายเองก็ต้องมีการพบปะลูกค้า การขายผ่านออนไลน์แม้จะลงทุนน้อย แต่ต้องมีทักษะทาง IT อยู่บ้างและต้องขยันอัพเดตตัวเองบ่อยๆ ส่วนการมีหน้าร้าน อาจมีข้อจำกัดเรื่องทุนและเวลา แต่ก็เป็นช่องทางที่มีความน่าเชื่อถือ
ก้าวที่ 3
เริ่มต้นอย่างมั่นใจ เป็นก้าวที่จะบอกว่าทำอย่างไรให้อาชีพที่เริ่มต้น เติบโตอย่างมั่นคง ซึ่งมี 5 ข้อ คือ
1. รู้จุดแข็งของอาชีพ
2. เข้าใจตลาด
3. ค่อยเป็นค่อยไป
4. รักษาคุณภาพ
5. จัดสรรเวลาและเงินให้ลงตัว

ข้อมูลจาก http://money.sanook.com/