วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

20 สิ่งที่คุณไม่ควรเขียนใน เรซูเม่ (Resume)

20 สิ่งที่คุณไม่ควรเขียนใน เรซูเม่ (Resume)
20 Things You Should Leave Off Your Resume
     


















































































1. Secondary skills.
ความสามารถอื่นๆของคุณ
ถ้าคุณมีความสามารถอื่นๆที่คุณมั่นใจว่าจะพัฒนาต่อไปในงานใหม่ที่คุณกำลงสมัคร ให้คุณใส่เอาไว้ในอันดับแรกๆของเรซูเม่ของคุณ แต่ระวัง! เอาความสามารถที่คุณคิดว่าคุณจะไม่ทำหรือทำได้ไม่ดีแน่ๆในงานที่คุณกำลังสมัครออกซะ ไม่อย่างนั้นคุณอาจจะลำบากในภายหลังที่จะต้องทำมันในขณะที่หัวหน้างานของคุณคาดหวังว่าคุณควรต้องทำมันได้ดี

2.
High school jobs.
งานรับจ๊อบระหว่างที่คุณอยู่ชั้นมัธยม
อย่าใส่เรื่องเกี่ยวกับงานเล็กๆน้อยๆที่คุณรับทำในระหว่างที่คุณเรียนอยู่ชั้นมัธยม ยกเว้นว่าคุณเพิ่งจะเรียนจบชั้นมัธยม

3.
The unprofessional (silly) email account.
ชื่ออีเมล์ที่ไม่มีความเป็นมืออาชีพ (หรือ อีเมล์ที่ดูเด็กๆ ไม่มีความเป็นผู้ใหญ่)
ถ้าคุณยังคงใช้ชื่ออีเมล์เก่าๆ เดิมๆ ตลอดเวลา เช่น
missu@hotmail.com เลิกใช้มันซะ !!! และสร้างอันใหม่ที่ดูเป็นมืออาชีพมากกว่านี้


4.
Misspelled words and poor grammar.
สะกดคำผิดๆและใช้ไวยกรณ์ที่ไม่ถูกต้อง
การที่คุณสะกดคำผิดๆหรือใช้ไวยกรณ์ไม่ถูกต้องเป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้คุณไม่ได้รับแม้แต่โอกาสที่จะสัมภาษณ์งาน ตรวจคำผิดหลายๆครั้งด้วยตัวคุณเอง และควรให้เพื่อนหรือคนอื่นตรวจให้คุณอีกครั้งก่อนที่จะส่งเรซูเม่

5.
Superfluous things.
ใส่ข้อมูลมากมายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงาน
อย่าใส่ข้อมูลมากมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่คุณจะสมัคร โดยเฉพาะเรื่องงานอดิเรก ลงในเรซูเม่ของคุณ แต่คุณสามารถเก็บสิ่งเหล่านี้ไปเล่าในระหว่างที่คุณสัมภาษณ์งาน สิ่งที่คุณสามารถใส่ลงในเรซูเม่ของคุณได้คือเรื่องที่คุณทำงานเพื่อสังคมหรือเรื่องเกี่ยวกับงานเดิมของคุณ

6.
Old-school resume formatting.
รูปแบบเรซูเม่แบบเดิมๆ
เปลี่ยนรูปแบบเรซูเม่ของคุณเสียบ้าง หารูปแบบใหม่ๆที่ดูสะดุดตา เพื่อให้นายจ้างรู้สึกประทับใจแล้วรู้สึกว่าคุณน่าสนใจ แต่ไม่ใช่เรซูเม่แบบที่เน้นสีสรร และดูไม่เป็นมืออาชีพ ใช้ฟอนต์ (
Font) เดียวกันทั้งเรซูเม่/เอกสารเพื่อให้ดูไปในทำนองเดียวกัน

7.
The "Objective" section.
เป้าหมายในการทำงาน
แทนที่จะพรรณาว่าอะไรที่คุณค้นหาคุณต้องการอะไรในการที่จะเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ อย่าลืมที่จะใส่
เป้าหมายในการทำงานของคุณ บอกผู้สัมภาษณ์งานว่าคุณมีความสามารถอะไรบ้างและความสามารถนั้นของคุณมีประโยชน์อะไรบ้างกับองค์กร

8.
Personal information.
เรื่องส่วนตัว
คุณไม่จำเป็นที่จะต้องบอกเรื่องความเห็นเกี่ยวกับเชื่อชาติ และ ศาสนา (ยกเว้นว่างานนั้นๆจะเกี่ยวข้องกับ 2 เรื่องนี้) เหตุผลที่คุณเปลี่ยนงาน ที่อยู่และ ชื่อของนายจ้างเดิม


9. A photo.
รูปถ่าย 
รูปถ่ายเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและเป็นหนึ่งสิ่งที่จะสร้างความประทับใจแรกให้กับผู้สัมภาษณ์ของคุณ และเป็นสิ่งที่จะทำให้คุณได้รับโอกาสในการเรียกเข้าสัมภาษณงาน ดังนั้น ใส่รูปที่เป็นมืออาชีพ ไม่ใส่รูปกลุ่ม และไม่ควรจะใส่รูปที่ดูเหมือนถ่ายเล่นอยู่กับเพื่อน เว้นเต่คุณจะเป็นดารา

10.
Gaps in work experience (if you can).
ช่วงเวลาของประสบการณ์ทำงาน
คุณอาจจะมีช่วงเวลาที่ว่างงานสัก 2-3 เดือนในระหว่างที่คุณลาออกจากงานเดิมและหางานใหม่ พยายามเติมช่องว่างหรือช่วงเวลาว่างๆนั้นด้วยงานเพื่อสังคมหรือประสบการณ์ในการไปช่วยธุรกิจเล็กๆน้อยของเพื่อนเก่าคุณ (ซึ่งคุณสามารถใส่ว่าคุณไปช่วยในฐานะที่ปรึกษา)

11.
Your home number (if you still have one).
เบอร์โทรศัพท์บ้าน (ถ้ามี)
อย่าใส่เบอร์โทรศัพท์บ้านของคุณ แต่ควรจะใส่เบอร์มือถือของคุณลงในเรซูเม่ ผู้สัมภาษณ์งานชอบที่จะติดต่อคุณได้ตลอดเวลา ไม่ใช่เฉพาะเวลาที่คุณอยู่บ้านเท่านั้น

12.
References.
บุคคลอ้างอิง
เราแนะนำให้คุณใส่ชื่อบุคคลอ้างอิงในเรซูเม่ของคุณ ถ้าคุณไม่ใส่ คุณก็จะถูกถามในระหว่างการสัมภาษณ์งานอยู่ดี พยายามใส่รายชื่อบุคคลอ้างอิงให้มากที่สุดเท่าที่คุณสามารถทำได้ หรืออย่างน้อย 2 คน

13.
The second page.
หน้าที่ 2 ของเรซูเม่
พยายามใส่สิ่งที่สำคัญๆ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับตัวคุณและประสบการณ์ทำงานในหน้าแรกของเรซูเม่ของคุณเท่านั้น เพราะผู้สัมภาษณ์งานส่วนมากแทบจะไม่เปิดหน้าที่2 ของเรซูเม่ของคุณ

14.
Beginning and end months.
วันเริ่มต้นและสิ้นสุดของเดือน
ใส่เฉพาะปีที่เริ่มต้นและปีที่สิ้นสุดการทำงานในประสบการณ์ทำงานของคุณ อย่าใส่เดือนที่เริ่มต้นและสิ้นสุด ยกเว้นว่าตำแหน่งงานเดิมนั้นจะเริ่มต้นและสิ้นสุดภายในปีเดียวกัน

15.
The word "Resume."
หัวข้อ เรซูเม่” อย่า!! อย่าตั้งหัวข้อของเรซูเม่คุณว่า เรซูเม่

16.
Paragraphed job descriptions.
ย่อหน้าของแบบบรรยายลักษณะงาน
ใช้
Bullet Point ในการอธิบายลักษณะงานของคุณ แต่คุณควรระวังที่จะไม่ใช้มันมากจนเกินไป เพราะมันทำให้ผู้อ่านตาลาย ผู้สัมภาษณ์งานส่วนมากจะเลิกอ่านเรซูเม่ที่มีย่อหน้าและเนื้อหามากจนเกินไป และมักจะเลือกอ่านเรซูเม่ที่จัดวางเป็น Bulletที่อ่านง่ายและสะอาดตา

17.
Salary figures--past and future.
จำนวนเงินเดือนทั้งปัจจุบันและที่คาดหวังไว้ในงานที่สมัคร
อย่าใส่เงินเดือนปัจจุบันเกินความเป็นจริงที่คุณได้ อย่าลืม! ว่าความลับไม่มีในโลกและผู้สัมภาษณ์งาน ปัจจุบันมักจะโทรถามนายจ้างเก่าหรือบุคคลอ้างอิงของคุณก่อนที่จะเรียกคุณเข้าสัมภาษณ์งาน ทำการบ้านและเช็คว่าประสบการณ์ของคุณกับเงินเดือนควรจะอยู่ที่เท่าไหร่ ลองเทียบกับบริษัทแบบเดียวกัน และตำแหน่งเดียวกันดู เพราะคุณไม่ควรที่จะเรียกร้องเงินเดือนมากกว่าความสามารถของคุณนัก เพราะมันจะทำให้คุณดูเป็นคนที่เรียกร้องจากองค์กรมากกว่าที่จะทำอะไรเพื่อองค์กร

18.
Generic job titles.
ชื่อตำแหน่งงาน
ใส่ชื่อตำแหน่งงานเดิมของคุณตามความความเป็นจริงและเหมาะสม ซึ่งควรจะเป็นตำแหน่งงานแบบสากล ตำแหน่งงานเดิมที่เป็นสากลและเรียงเป็นขั้นนี้จะช่วยให้ผู้สัมภาษณ์หรือนายจ้างใหม่มีไอเดียมากขึ้นว่าคุณเคยทำอะไรมาและคุณควรอยู่ตำแหน่งใดต่อไป

19.
Duties and responsibilities.
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ถ้าคุณอยากให้ผู้สัมภาษณ์หรือนายจ้างใหม่เห็นว่าคุณมีความสามารถมากกว่าผู้แข่งขันคนอื่นๆ เลิกใส่หน้าที่และความรับผิดชอบในตำแหน่งงานเดิมของคุณลงในเรซูเม่ แต่คุณควรจะเริ่มใส่ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับสิ่งที่คุณเคยได้ผ่านความท้าทายมาและคุณสามารถเอาชนะหรือทำมันสำเร็จได้อย่างไร หรืออธิบายว่าองค์กรณ์จะได้ประโยชน์อะไรจากความกระตือรือร้นและความคิดสร้างสรรนี้ของคุณ อะไรที่ทำให้คุณตัดสินใจย้ายงานไปสู่องค์กรณ์ที่ดีขึ้นกว่าองค์การที่คุณเริ่มทำงาน

20.
Age identifiers.
การระบุวันที่
ถ้าคุณคิดว่าอายุของคุณอาจจะมากเกินกว่าตำแหน่งที่คุณสมัคร อย่าใส่ตำแหน่งงานและระยะเวลาของงานที่คุณเคยทำเมื่อนานมาแล้ว อย่าระบุวันที่ที่คุณเรียนจบ เพราะมันจะทำให้ผู้สัมภาษณ์งานเลือกที่จะข้ามเรซูเม่ของคุณไป สิ่งที่คุณจะทำได้ก็คือ ทำให้ผู้สัมภาษณ์งานเห็นว่าคุณน่าสนใจและเหมาะสมกับตำแหน่งนั้นแค่ไหนในวันที่คุณได้มีโอกาสเข้าสัมภาษณ์งาน แสดงให้ผู้สัมภาษณ์งานเห็นว่าอายุของคุณเหมาะสมกับความสามารถและตำแหน่งงานนั้นที่สุด

ข้อมูลจาก AEC Job Listing 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น